ชุดความรู้ ดิน จุลินทรีย์ สมุนไพรกำจัดศัตรูพืช โดย อ.ปรีชา บุญท้วม ระยอง ขอบคุณภาพจากไลน์กลุ่ม SDGsPGS Rayong ครับ
ระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ Organic Agricutural Network : OAN
ระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์พัฒนาขึ้นเพื่อให้เกษตรกรได้มีเครื่องมือในการจัดการข้อมูลระดับแปลงของตัวเอง
โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อได้แก่
1 เพื่อให้เกษตรกรมีฐานข้อมูลเป็นของตนเองและสามารถลงบันทึกฟาร์มออนไลน์ ต้นทุนฟาร์มออนไลน์ และแผนการผลิต
2 เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแปลงที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
3 เพื่อเป็นตัวกลางในการทำตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ล่วงหน้า
ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม Participatory Guarantee Systems (PGS)
องค์ประกอบสำคัญของระบบชุมชนรับรอง PGS
IFOAM ให้คำนิยามสั้นๆ ว่า PGS คือ “ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ ” [Participatory Guarantee Systems (PGS) are locally focused quality assurance systems. They certify producers based on active participation of stakeholders and are built on a foundation of trust, social networks and knowledge exchange.]
วิสัยทัศน์ร่วม (SHARED VISION) ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคในหลักการพื้นฐานของระบบชุมชนรับรอง ซึ่งการมีส่วนร่วมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละโครงการก็ได้
การมีส่วนร่วม (PARTICIPATORY) ของผู้ที่สนใจในการบริโภคและการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากระบบนี้ หลักการและมาตรฐานการผลิตเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ผู้ผลิต ที่ปรึกษา ผู้บริโภค) ซึ่งทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือ เพราะการมีส่วนร่วมนี้
ความโปร่งใส (TRANSPARENCY) ที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงกลไกและกระบวนการในการตรวจรับรองทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจำเป็นต้องรู้รายละเอียดทุกอย่างเท่ากัน แลในขณะเดียวกันก็ต้องมีการปกป้องข้อมูลที่อาจะเป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า
ความเชื่อมั่นต่อกัน (TRUST) ระบบชุมชนรับรองตั้งอยู่บนฐานความเชื่อว่า เราสามารถเชื่อถือเกษตรกรได้ และการใช้กลไกควบคุมทางสังคม/วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้
กระบวนการเรียนรู้ (LEARNING PROCESS) ระบบชุมชนรับรองไม่ใช่มีเป้าหมายเพียงเพื่อให้การรับรองผลผลิต และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาชุมชนและเกษตรอินทรีย์
ความเชื่อมโยงในแนวราบ (HORIZONTALITY) ที่เป็นการแบ่งปันอำนาจและความรับผิดชอบของผู้คนที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนเพียง 2 – 3 คนเท่านั้น
ลักษณะรูปแบบสำคัญของระบบชุมชนรับรอง
มาตรฐานและข้อกำหนดถูกพัฒนาขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง [Norms conceived by the stakeholders]
มีฐานจากองค์กรรากหญ้า [Grassroots Organization]
เหมาะกับการเกษตรของเกษตรกรรายย่อย [Is appropriate to smallholder agriculture]
มีหลักการและระบบคุณค่า [Principles and values] ที่มีเป้าหมายในการยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวเกษตรกรและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
มีเอกสารที่อธิบายระบบการบริหารจัดการและขั้นตอนการทำงาน [Documented management systems and procedures] ซึ่งควรกำหนดให้เกษตรกรต้องจัดทำเอกสารข้อมูลเท่าที่จำเป็นจริงๆ แต่ระบบชุมชนรับรองควรต้องมีระบบการบันทึกที่แสดงให้เห็นได้ว่า เกษตรกรได้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จริง
มีกลไกในการยืนยันการปฏิบัติตามมาตรฐานของเกษตรกร [Mechanisms to verify farmer’s compliance]
มีกลไกในการสนับสนุนเกษตรกร [Mechanisms for supporting farmers] เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำเกษตรอินทรีย์ได้จริงมีข้อตกลงหรือสัตยาบันของเกษตรกรในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและมาตรฐาน [a bottom-line document]
มีตรารับรอง [Seals or labels] ที่เป็นหลักฐานแสดงสถานะความเป็นเกษตรอินทรีย์
มีบทลงโทษที่ชัดเจนและแจ้งล่วงหน้า [Clear and previously defined consequences] สำหรับเกษตรกรที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน และมีการบันทึกการลงโทษในระบบฐานข้อมูล หรือเปิดเผยให้สาธารณะได้รับทราบ

สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย
เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) คือระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิต เกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศซึ่งนําไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนา คุณภาพชีวิต ของเกษตรกรและผู้บริโภค เกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุมเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่
คู่มือพัฒนามาตรฐานเกษตรกรรมยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ฉบับนี้ มีไว้เพื่อ เป็นทางเลือกหนึ่งที่เครือข่ายเกษตรกรและภาคีร่วมพัฒนาสามารถนําไปพัฒนาเพื่อการรับรอง แปลงและผลผลิตจากกลุ่มเครือข่ายทั้งในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศ ASEAN เครือข่าย SDGsPGS ไม่ใช่เครือข่ายเพื่อการรับรองมาตรฐานแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่มาตรฐานการรับรอง แบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาและรับรองแปลง รับรองผลิตผลเกษตร เกิดการ เชื่อมโยง และการจัดการนําผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบทั้งห่วงโซ่อุปทาน ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา เครือข่าย SDGsPGS ได้พัฒนากลไกการขับเคลื่อนระดับจังหวัดขึ้นมา 4 กลไก ได้แก่ กลไกคณะทํางานตรวจแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน กลไกธุรกิจ กลไกคณะกรรมการรับรองมาตรฐาน เกษตรกรรมยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม และสุดท้ายคือกลไกเพื่อดูแลการบริหารจัดการข้อมูลในระบบ ฐานข้อมูล SDGsPGS SAN (Sustainable Agriculture Network) ใช้ตลาดนําการผลิต ทําให้ สามารถช่วยเกษตรกรจัดการผลิตเพื่อการค้าสู่ตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน คู่มือฉบับนี้ถือเป็นคู่มือเพื่อการพัฒนามาตรฐานเกษตรกรรมยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ซึ่งเป็นฐานสําคัญที่เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนแต่ละจังหวัด สามารถทําการพัฒนา เพิ่มเติมตามบริบทของแต่ละจังหวัดให้สมบูรณ์ขึ้นได้ตลอดเวลา หากท่านมีเนื้อหาใดที่ต้องการ พัฒนาเพิ่มเติมหรือข้อเสนอแนะ สามารถติดต่อประสานงานกับ ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ และ สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทยได้ตลอดเวลา
Last update : 23-5-2018
– แบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วม SDGsPGS Application Form
– แบบฟอร์มการตรวจประมเนิแปลงมาตรฐาน SDGsPGS Inspector Form(iPGS)
– แบบรายงานสรุปการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ระดับจังหวัด (Commission Form)
โครงสร้าง TSATA
สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย จัดตั้งขึ้นมาจากทีมอาสาสมัครในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำไปสู่เกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อเป็นองค์กรในการสร้างและพัฒนา “ธุรกิจเกษตรอินทรีย์” ให้เป็นรูปธรรม

จัดตั้งสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนประจวบคีรีขันธ์ ร่วมขับเคลื่อนมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2563 เวลา 10.00 น. ณ ธรรมรัตน์ฟาร์มเห็ด ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พี่น้องเครือข่ายหัวใจอินทรีย์ ทั้งผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน Young Smart Farmer เกษตรแปลงใหญ่ ฯลฯ กว่า 20 คน ได้จัดประชุมร่วมกันเพื่อจัดตั้งสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายไสว แสงสว่าง อุปนายก สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย และประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร นายสรวิศ น้ำค้าง เลขาธิการสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัทออร์แกนิคสุพรรณบุรี วิสาหกิจเพื่อสังคม ร่วมลงพื้นที่ ทำความเข้าใจเรื่องเป้าหมาย แนวทางการขับเคลื่อน ตลอดจนโครงสร้างการทำงานทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ โดยที่ประชุมมีมติเลือกนายกฤษดา ขันธศิริ เป็นประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนประจวบคีรีขันธ์คนแรก
นายไสว แสงสว่าง ได้ร่วมแสดงความยินดีกับทีมสมาพันธ์ฯประจวบคีรีขันธ์ ได้มีการหารือแนวทางการเชื่อมโยงตลาด โดยนายไสวเองกำลังเตรียมเปิด Organic Outlet เนื้อที่กว่า 5 ไร่ ที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เพื่อให้บริการนักเดินทางทั้งขึ้นและล่องใต้ ซึ่งมีมากกว่า 120,000 คันต่อวัน ซึ่งสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนประจวบคีรีขันธ์สามารถบริหารจัดการในพื้นที่ตลาดเกษตรอินทรีย์คล้ายๆกัน ขณะที่นายสรวิศ น้ำค้าง ได้แสดงความยินดีและชื่นชม ว่าทีมประจวบคีรีขันธ์มีความเข้มแข็งมาก ผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัดก็มีความน่าสนใจเช่นมะพร้าว สัปปะรด มังคุด ทุเรียน เป็นต้น โดยนายนายกฤษดา ขันธศิริ ซึ่งอาสาเป็นประธานสมาพันธ์ฯ ยังเป็นประธานเครือข่าย Young Smart Farmer จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อีกด้วย การอาสาขับเคลื่อนสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนประจวบคีรีขันธ์ครั้ง ได้มีการเตรียมตัวทาบทามคณะกรรมการกลุ่มต่างๆมาระยะหนึ่งแล้ว และยังมีที่ปรึกษาเช่น นางคำนึง เปี่ยมสะอาด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายสามารถ เอี่ยมวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส. ประจวบคีรีขันธ์ ดร.ประดิษฐ์ ยมานันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก และภริยาคือนางฉวีวรรณ ยมานันท์ ปัจจุบันเป็นเกษตรกรหัวใจอินทรีย์เต็มขั้น อาจารย์ไสว แสงสว่าง และอีกหลายท่าน ร่วมเป็นที่ปรึกษา เพราะทุกคนต่างต้องการให้เกิดการขับเคลื่อนเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้เกิดขึ้นได้จริงและขยายผลเต็มพื้นที่
เครือข่าย SDGsPGS (Sustainable Development Goals Participatory Guarantee System) เป็นเครือข่ายที่พัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม PGS ซึ่งเป็นแนวคิดโดย IFOAM มีการนำไปใช้ทั่วโลก ผสมผสานแนวทางการพัฒนาแปลงเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกษ. 9000โดยรัฐบาลไทย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยองค์การสหประชาชาติ และยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์และสมุนไพรอินทรีย์ เป็นการพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และพื้นที่เป็นตัวตั้งแบบครบห่วงโซ่ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ขับเคลื่อนภายใต้ร่มของสมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย ซึ่งจดทะเบียนสมาคมการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ เป็นนิติบุคคลตามกฏหมายโดยมีสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนระดับชาติและมีสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัดเป็นเจ้าภาพระดับจังหวัด บริหารกลไกคณะทำงานตรวจแปลง คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูล คณะกรรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด และสุดท้ายคือกลไกธุรกิจในรูป “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ซึ่งมีเป้าหมายในการค้าที่ยุติธรรมและนำกำไรไม่น้อยกว่า 70% ไปลงทุนต่อและทำงานพัฒนา โดยปันผลไม่เกิน 30 % ปัจจุบันได้ขับเคลื่อนสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัดไปแล้วมากกว่า 40 จังหวัด และกำลังมีการดำเนินการจัดตั้งขึ้นใหม่ไม่อีกกว่า 15 จังหวัดในปี 2563
ติดตามความเคลื่อนไหวของเครือข่าย SDGsPGS ได้ที่ทางเพจ Facebook สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย
//รายงานโดย ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ นายก สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย (TSATA – ทีซาต้า)
จัดตั้งสมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรอินทรีย์ Startup และธุรกิจ BCG เพื่อสังคม
วันที่ 30 สิงหาคม 2562 ที่จังหวัดชลบุรี เครือข่ายสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทยอันประกอบด้วยสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด และวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ในแต่ละจังหวัด ได้จัดประชุมเพื่อยกระดับปฏิบัติการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน เกษตรอินทรีย์ สมุนไพรอินทรีย์ สู่การเป็น “นิติบุคคล” ตามกฏหมายโดยจัดตั้งเป็น “สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย” เพื่อให้เป็นกลไกกลางในการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ร่วมพัฒนาให้เกษตรกรในระบบอินทรีย์ มีองค์ความรู้ในการผลิต เข้าถึงมาตรฐาน และสามารถเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อสังคม พัฒนา Startup และขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (Bioeconomy เศรษฐกิจชีวภาพ Circular economy เศรษฐกิจหมุนเวียน และ Green economy เศรษฐกิจสีเขียว) ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ตามแนวทางของรัฐบาล “สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai Sustainable Agriculture Trade Association” ชื่อย่อ TSATA อ่านว่า “ทีซาต้า” ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสมาคมการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ทะเบียนเลขที่ 0209562000018 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 โดยมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 30/2 หมู่ 13 ตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี การประชุมในวันที่ 30 สิงหาคม 2562 เป็นการประชุมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคม และแจ้งต่อนายทะเบียนและเปิดการดำเนินงานต่อไป โดยที่ประชุมมีมติให้มีการจัดตั้ง 5 สถาบัน ดำเนินงานภายในสมาคมได้แก่ สถาบันสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thailand Sussainable Agriculture Confederation – TSAC) สถาบันพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์แปรรูปอินทรีย์ (Institute of Sustainable Organic Manufacturing Standard – ISOMS) ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อสังคม (Organic Social Enterprise Incubation Center – OSEIC) สถาบันประเมินคุณค่าและมูลค่าของต้นไม้โดยชุมชน (Community Carbon Credit Assessment Institute – CCCAI) และสถาบันจุลินทรีย์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Micro Organism Institure for Sustainable Development – MOISD) และมีมติเห็นชอบตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ โดยนายธนัชชัย สามเสน ได้รับเลือกเป็นนายก และมีอุปนายกรับผิดชอบทั้ง 5 สถาบันได้แก่ นายเชษฐา สุขประเสริฐ นายสมประสงค์ พยัคฆพันธ์ นางกมลพร ตรียะชาติ นายไสว แสงสว่าง นายบุญรุ้ง สีดำ โดยมี ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ เป็นเลขาธิการ และ ดร.กนก อภิรดี เป็นประธานที่ปรึกษา นายธนัชชัย สามเสน ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมเกษตรกรรมยั่งยืนไทยคนแรกกล่าวขอบคุณทุกคนที่สนับสนุนและได้เล่าถึงการเดินทางร่วมกับทีมงานสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทยไปทั่วประเทศในหลายปีที่ผ่านมา ได้เห็นความท้าทายของเกษตรกรหัวใจอินทรีย์ทั้งด้านการผลิตและการตลาด และเพิ่งหมดวาระ 2 ปี ในการเป็นประธานสภาหอการค้าจังหวัดอุดรธานี มีเวลาที่จะเป็นเกษตรกรและพร้อมร่วมขับเคลื่อนสมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทยอย่างเต็มที่ การขับเคลื่อนทั้ง 5 สถาบันภายใต้สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทยมีความท้ายทายมาก เพราะเป็นเรื่องใหม่ๆทั้งนั้น แต่ก็มีความเชื่อมั่นในทีมงานที่ขับเคลื่อนร่วมกัน โดยเชื่อว่าภายใน 2 ปีแรกนี้น่าจะสามารถสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งและสร้างการยอมรับทางสังคมได้เป็นอย่างดี นายเชษฐา สุขประเสริฐ อุปนายก ซึ่งดูแลสถาบันสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการจัดตั้งสมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทยที่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเป็นจังหวะก้าวที่สำคัญมาก เพราะที่ผ่านมามีบางหน่วยงานที่มีคำถามเกี่ยวกับสถานภาพทางกฏหมายของสหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัด ซึ่งไม่มีกฏหมายรองรับ การจัดตั้งสมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทยครั้งนี้ จะทำให้ปัญหาเรื่องสถานภาพขององค์กรหมดไป และจะทำให้สหพันธ์ฯ สามารถทำการเชื่อมโยงกับหน่วยงานระดับนโยบายได้โดยง่าย ตลอดจนการเกิดขึ้นของสถาบันต่างๆภายใต้สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย จะสามารถช่วยพัฒนาให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ในการเพิ่มผลิตภาพในเครือข่ายสมาชิกได้
// รายงานโดย ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ เลขาธิการ สมาคมการค้าเกษตรกรรมยั่งยืนไทย
สวัสดีชาวโลก – -‘
ยินดีต้อนรับสู่ WordPress นี่คือเรื่องแรกของคุณ แก้ไขหรือลบทิ้งไป แล้วมาเริ่มเขียนกัน!