เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) คือระบบการเกษตรที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิต เกษตรกร กระบวนการผลิต และการจัดการทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศซึ่งนําไปสู่การพึ่งตนเองและการพัฒนา คุณภาพชีวิต ของเกษตรกรและผู้บริโภค เกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุมเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่
คู่มือพัฒนามาตรฐานเกษตรกรรมยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ฉบับนี้ มีไว้เพื่อ เป็นทางเลือกหนึ่งที่เครือข่ายเกษตรกรและภาคีร่วมพัฒนาสามารถนําไปพัฒนาเพื่อการรับรอง แปลงและผลผลิตจากกลุ่มเครือข่ายทั้งในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศ ASEAN เครือข่าย SDGsPGS ไม่ใช่เครือข่ายเพื่อการรับรองมาตรฐานแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่มาตรฐานการรับรอง แบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาและรับรองแปลง รับรองผลิตผลเกษตร เกิดการ เชื่อมโยง และการจัดการนําผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบทั้งห่วงโซ่อุปทาน ต้นน้ํา กลางน้ํา และปลายน้ํา เครือข่าย SDGsPGS ได้พัฒนากลไกการขับเคลื่อนระดับจังหวัดขึ้นมา 4 กลไก ได้แก่ กลไกคณะทํางานตรวจแปลงเกษตรกรรมยั่งยืน กลไกธุรกิจ กลไกคณะกรรมการรับรองมาตรฐาน เกษตรกรรมยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม และสุดท้ายคือกลไกเพื่อดูแลการบริหารจัดการข้อมูลในระบบ ฐานข้อมูล SDGsPGS SAN (Sustainable Agriculture Network) ใช้ตลาดนําการผลิต ทําให้ สามารถช่วยเกษตรกรจัดการผลิตเพื่อการค้าสู่ตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน คู่มือฉบับนี้ถือเป็นคู่มือเพื่อการพัฒนามาตรฐานเกษตรกรรมยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ซึ่งเป็นฐานสําคัญที่เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนแต่ละจังหวัด สามารถทําการพัฒนา เพิ่มเติมตามบริบทของแต่ละจังหวัดให้สมบูรณ์ขึ้นได้ตลอดเวลา หากท่านมีเนื้อหาใดที่ต้องการ พัฒนาเพิ่มเติมหรือข้อเสนอแนะ สามารถติดต่อประสานงานกับ ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ และ สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทยได้ตลอดเวลา
Last update : 23-5-2018
– แบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วม SDGsPGS Application Form
– แบบฟอร์มการตรวจประมเนิแปลงมาตรฐาน SDGsPGS Inspector Form(iPGS)
– แบบรายงานสรุปการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ระดับจังหวัด (Commission Form)